อนุทินครั้งที ๗
13 กุมภาพนธ์ 2561
นักทฤษฏีพัฒนาการกับเด็กปฐมวัยคาบเรียนนี้พรีเซนต์เนื้อหาความรู้นักทฤษฎีเเต่ละกลุ่ม มีดังนี้
ทฤษฎีด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน
ทฤษฎีของกรีเซล
ทฤษฎีด้านจริยธรรมของโคลเบอร์ก
ทฤษฎีพัฒนการด้านความคิดเข้าใจของบรุนเนอร์
บรรยากาศในห้องเรียนค่ะ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นนายแพทย์ จิตแพทย์ และนักจิตวิทยาชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 06 พฤษภาคม ค.ศ.1856และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1939เป็นผู้สร้างทฤษฎีจิตวิเคราะห์
ฟรอยด์ได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางเพศไว้ 5 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นปาก (Oral Stage) (แรกเกิด - 18 เดือน) ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณปาก การดูดจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก แต่เด็กบางคนอาจเกิดภาวะติดค้างได้ ซึ่งอาจเนื่องจากการหย่านมด้วยวิธีการรุนแรง การมีน้องเร็ว การที่มารดามีภารกิจมาก เป็นต้น เมื่อบุคคลนี้เติบโตขึ้นก็อาจมีพฤติกรรมชอบกินเหล้า สูบบุหรี่ กินจุกจิก จู้จี้ขี้บ่น เป็นต้น
2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) (อายุ 1 ปี 6 เดือน - 3 ปี 6 เดือน) ลิบิโดไปกระตุ้นที่ทวารหนัก การกัก และการปล่อยอุจจาระจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก แต่ถ้าผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูใช้วิธีการเข้มงวดในการฝึกวินัยในการขับถ่าย เด็กจะเกิดภาวะติดค้าง เมื่อโตขึ้นอาจมีนิสัยเผด็จการหรือไม่มีความพอดีในเรื่องความสะอาดและการใช้จ่าย
3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) (อายุ 3 ปี 6 เดือน - 6 ปี) ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเด็กเริ่มสนใจความแตกต่างระหว่างเพศ จึงทำให้ชอบจับต้องอวัยวะเพศเล่น เป็นการลดภาวะเครียด แต่ผู้ใหญ่มักใช้ค่านิยมของตนไปตัดสินพฤติกรรมของเด็กว่าไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการขัดขวางการลดภาวะเครียดของเด็ก ทำให้เด็กเกิดภาวะติดค้าง เมื่อโตขึ้นเด็กก็อาจจะชอบแสดงออกในเรื่องเพศ ชอบพูดจาสองแง่สองง่าม หรือให้ความสนใจต่อเรื่องเพศมากเป็นพิเศษ ในขั้นนี้มีสิ่งสำคัญเกิดขึ้นคือ เด็กชายเกิดปมโอดิปุส (Oedipus Complex) และเด็กหญิงจะเกิดปมอีเลคตร้า (Electra Complex) ซึ่งหมายถึงความรู้สึกของเด็กชายที่รักและติดแม่ เด็กหญิงจะรักและติดพ่อ และเด็กชายจะเลียนแบบพ่อเพื่อให้เป็นที่รักของแม่ ส่วนเด็กหญิงจะเลียนแบบแม่เพื่อให้เป็นที่รักของพ่อ อันส่งผลให้เริ่มมีบุคลิกภาพสอดคล้องกับเพศของตน
4. ขั้นพัก หรือขั้นแฝง (Latency Stage) (อายุ 6 - 12 ปี) ขั้นนี้ถือได้ว่าเป็นการพัก แต่มิใช่ว่าไม่มีการกระตุ้นของลิบิโดแต่พฤติกรรมทางเพศเป็นไปอย่างสะเปะสะปะไม่อยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะจึงไม่มีภาวะติดค้าง
5. ขั้นเพศ (Genital Stage) (อายุ 12 - 20 ปี) เป็นช่วงวัยรุ่น ลิบิโดจะไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ และเป็นไปอย่างมี “วุฒิภาวะทางเพศ” กล่าวคือ พร้อมต่อการสืบพันธุ์ การลดภาวะเครียดจึงเป็นการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation) ทั้งนี้เนื่องจากสภาพทางสังคมยังไม่เอื้อต่อการให้บุคคลในวัยนี้มีคู่ครองทั้งๆ ที่มีความต้องการทางการสืบพันธุ์สูงมาก
ฟรอยด์มีความเชื่อว่า ลักษณะจิตใจของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ฟรอยด์เชื่อว่าบุคลิกภาพมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้
อิด (Id) เป็นส่วนที่กระตุ้นความต้องการของบุคคลและบงการการตอบสนองความต้องการตามหลักแห่งความพึงพอใจ (Pleasure Principle) คือ คำนึงความพึงพอใจของตนเองเป็นใหญ่ โดยไม่คำนึงว่าผู้อื่นจะเดือดร้อนหรือไม่
อีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่กระตุ้นให้บุคคลตอบสนองความต้องการที่เกิดจากอิด โดยไม่ให้อิดบงการการตอบสนอง อีโก้จะตอบสนองตามหลักแห่งความเป็นจริง (Reality Principle) คือ คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมระหว่างตนเองกับผู้อื่น
ซูเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนที่บงการการตอบสนองความต้องการของอิด โดยคำนึงถึงหลักแห่งมโนธรรม (Moral Principle) คือคำนึงถึงประโยชน์สุขของผู้อื่น แต่ตนเองอาจทุกข์ก็ได้ ถือว่าเป็นการตอบสนองความต้องการในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติของคนทั่วไป
การทำงานของคนทั้ง 3 ประการจะพัฒนาบุคลิกภาพของบุคคลให้เด่นไปด้านใดด้านหนึ่งของทั้ง 3 ประการนี้ แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้
อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า คือถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทฤษฎีจิตสังคม ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่ เป็นต้น
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย
อิริคสันกล่าวว่า เด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม
อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว
วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอมเห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลย และมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมีบ้านของตนเอง
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง
อีริควันอธิบายว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง
วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตาย ยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย
ซึ่งทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสันนั้น สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อค้นหาว่าตัวบุคคลนั้นเป็นเช่นไร และสามารถนำไปเชื่อมกับการแก้ปัญหาให้แก่ผู้ใช้บริการได้
กีเซลล์ได้แบ่งพัฒนาการเด็กออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. พฤติกรรมด้านการเคลื่อนไหว (gross motor development)
เป็นความสามารถของร่างกายที่ครอบคลุมถึงการบังคับอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและความ สัมพันธ์ทางด้านการเคลื่อนไหวทั้งหมด
2. พฤติกรรมด้านการปรับตัว(fine motor or adaptive development)
เป็นความสามารถในการประสานงานระหว่างระบบการเคลื่อนไหวกับระบบความรู้สึก เช่น การประสานงานระหว่างตากับมือ ซึ่งดูได้จากความสามารถในการใช้มือของเด็ก เช่น ในการตอบสนองต่อสิ่งที่เป็นลูกบาศก์ การสั่นกระดิ่ง การแกว่งกำไล ฯลฯ ฉะนั้น พฤติกรรมด้านการปรับตัวจึงสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางด้านการเคลื่อนไหว
3. พฤติกรรมทางด้านภาษา(language development)
ประกอบด้วยวิธีสื่อสารทุกชนิด เช่น การแสดงออกทาง หน้าตา ท่าทาง การเคลื่อนไหวท่า ทางของร่างกาย ความสามารถในการเปล่งเสียง และภาษาพูดการเข้าใจในการสื่อสารกับผู้อื่น
4. พฤติกรรมทางด้านนิสัยส่วนตัวและสังคม (personal social development)
เป็นความสามารถในการปรับตัวของเด็ก ระหว่างบุคคลกับบุคคลและบุคคลกับกลุ่มภายใต้ภาวะแวดล้อมและสภาพความเป็นจริงนับเป็นการปรับตัวที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของสมองและระบบการเคลื่อนไหวประกอบกัน ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
- ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
- ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought)
-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought)
- ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล
- ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง ทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่
1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
ทฤษฏีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก
(Kolberg)
โคลเบิร์ก (Kolberg) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม (cognitivism) ซึ่งมีความเชื่อพื้นฐานว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสมอง สามารถเกิดการเรียนรู้ เพื่อการปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ โดยนำแนวเชื่อทางชีววิทยามาประยุกต์กับศาสตร์ทางจิตวิทยา แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิกของเพียเจต์
นอกจากนี้โคลเบิร์ก (Kolberg) ยังได้ศึกษาวิจัย โดยวิเคราะห์คำตอบของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10-16 ปี เกี่ยวกับเหตุผลในการเลือกทำพฤติกรรมอย่างหนึ่งในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันระหว่างความต้องการส่วนบุคคลและกฎเกณฑ์ของกลุ่มหรือสังคม และนำมาสรุปเป็นเหตุผลในการแบ่งจริยธรรมออกเป็น 6 ขั้น โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับๆ ละ 2 ขั้น ดังนี้
ระดับจริยธรรม
ระดับที่ 1. ระดับก่อนเกณฑ์สังคม (pre conventional level ) อายุ 2-10 ปี การที่เรียกระดับนี้ว่าก่อนเกณฑ์สังคม เพราะว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่เข้าใจกฎเกณฑ์สังคม แต่จะรับกฎเกณฑ์ข้อกำหนดว่าอะไรดี ไม่ดี จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น พ่อแม่ ครู หรือ เด็กที่โตกว่า จริยธรรมในระดับนี้ คือ หลีกเลี่ยงการลงโทษและคิดถึงผลตอบแทนที่เป็นประโยชน์ เช่น การแสวงหารางวัล
ระดับที่ 2. ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (conventional morality) ช่วงอายุระหว่าง 10-20 ปี ผู้ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ส่วนใหญ่สามารถที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์สังคมเพราะรู้ว่าเป็นกฎเกณฑ์
ระดับที่ 3. ระดับจริยธรรมเหนือกฎเกณฑ์สังคม (post conventional level) โดยปรกติคนจะพัฒนาขึ้นมาถึงระดับนี้ หลังจากอายุ 20 ปี แต่จำนวนไม่มากนัก จริยธรรมระดับนี้จะอยู่เหนือกฎเกณฑ์สังคม กล่าวคือคนจะดีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณของตนเอง วิเคราะห์ด้วยตนเองก่อน โดยคำนึกถึงความสำคัญและประโยชน์เสมอภาคในสิทธิมนุษยชน โดยปรกติคนจะพัฒนาถึงระดับนี้มีจำนวนไม่มากนัก
ขั้นการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
ขั้นที่ 1. การเชื่อฟังและการลงโทษ (obedience and punishment orientation) พฤติกรรม “ดี” คือ พฤติกรรมที่ทำแล้วได้รางวัล พฤติกรรม “ไม่ดี” คือพฤติกรรมที่ทำแล้งได้รับการลงโทษ
ขั้นที่ 2. กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตนเอง (instrumental relativist orientation) เด็กจะเชื่อฟังหรือทำตามผู้ใหญ่ ถ้าคิดว่าตนเองจะได้รับประโยชน์ หรือได้รับความพึงพอใจ
ขั้นที่ 3. หลักการทำตามผู้อื่นเห็นชอบ (good boy nice girl orientation ) อายุ 9-13 ปี เป็นการทำตามกฎเกณฑ์ของสังคม เพื่อจะได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กดี
ขั้นที่ 4. หลักการทำตามกฎระเบียบสังคม (Law and order orientation) อายุ 14-20 ปี เป็นขั้นที่ยอมรับในอำนาจและกฎเกณฑ์ของสังคม พร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม
ขั้นที่ 5. หลักการทำตามสัญญาสังคม (social contract orientation) เป็นขั้นที่เน้นความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมควรปฏิบัติตาม โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิซึ่งกันและกัน ในขั้นนี้สิ่ง ถูก-ผิด จะขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 6. หลักการทางจริยธรรมที่เป็นสากล (universal ethical principle orientation) ขั้นนี้เป็นขั้นที่แต่ละบุคคลเลือกที่จะปฏิบัติตามหลักการทางจริยธรรมด้วยตัวของมันเอง และเมื่อเลือกแล้วก็ปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชน และเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์
- ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
- ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
- ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม ได้